บทความ: จุดเริ่มต้นว่าด้วยเรื่องของ “เฮมพ์” หรือ “กัญชง” ที่ไม่ใช่ “กัญชา”

จากสถานการณ์ในเรื่องของตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มพืชที่จัดเป็นประเภทยาเสพติด ที่ประชาชนนั้นไม่สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างเสรี หากมีการผลิตหรือปลูกโดยไม่ได้รับการขออนุญาตแล้ว จะถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ต้องได้รับการลงโทษถึงการกระทำดังกล่าวตามกฎหมาย จึงได้ถูกยกขึ้นเป็นประเด็นร้อนที่มีการกล่าวถึงกันมากในภาพข่าวทางโทรทัศน์ และสื่อในสังคมโซเชียลในหลากหลายประเด็น ดังนั้นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการปรับเปลี่ยนในหลาย ๆ มิติ และนำมาซึ่งการนำพืชที่ถูกระบุว่าเป็นประเภทยาเสพติดนั้นมาประยุกต์ และใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ไม่เฉพาะวงการแพทย์เท่านั้น ดังนั้นจุดเริ่มต้นจึงเป็นการนำเสนอข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ว่าด้วยเรื่องของเฮมพ์ หรือกัญชง ขั้นตอนกระบวนการขออนุญาตของผู้ขอรับใบอนุญาตเพื่อการผลิตสำหรับการทำวิจัย และอื่น ๆ

“กัญชา” หรือมารีฮวนนา (Marijuana) ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis indica Lam. ในขณะที่มีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกัญชา นั่นคือ “กัญชง” หรือที่บางคนมีความเข้าใจว่า กัญชง คือ น้องของกัญชา ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนของพืชทั้งสองชนิดนี้ ในทางกฎหมายจึงได้มีการระบุหรือให้เรียก “กัญชง” ว่า “เฮมพ์ (Hemp)” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ปี พ.ศ. 2522

ปัจจุบันประเทศไทยจัด “เฮมพ์และกัญชา” เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 การผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เนื่องจากทั้ง “กัญชาและเฮมพ์” มีต้นกำเนิดมาจากพืชชนิดเดียวกัน

ต้องควบคุมให้มีสารเสพติด คือ สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) อยู่ในปริมาณที่กำหนด เช่น ในประเทศแคนาดากำหนดให้มีสารเสพติด THC ในเฮมพ์ไม่เกินร้อยละ 0.3 ส่วนประเทศทางยุโรปกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 0.2 ประเทศออสเตรเลียกำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 0.5-1 สำหรับประเทศไทยกำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 1.0 หากในอนาคตมีการส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถปลูกเฮมพ์ได้ถูกต้องตามกฎหมายแล้วนั้น การจำแนก “เฮมพ์” ออกจาก “กัญชา” จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

ที่ผ่านมาได้มีการรายงานและยืนยันถึงประโยชน์ในหลากหลายด้านของเฮมพ์มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ให้มีการขออนุญาตปลูกเฮมพ์นี้ได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกเฮมพ์ และนำไปใช้ประโยชน์ด้านเส้นใยทอผ้า ทั้งในระดับครัวเรือน และอุตสาหกรรม โดยในช่วงทดลองได้จำกัดเขตทดลองปลูกใน 6 จังหวัด 15 อำเภอ ประกอบด้วย 1) จังหวัดเชียงใหม่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่วาง อำเภอแม่ริม อำเภอสะเมิง และอำเภอแม่แจ่ม 2) จังหวัดเชียงราย 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเทิง อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอแม่สาย 3) จังหวัดน่าน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข และอำเภอสองแคว 4) จังหวัดตาก 1 อำเภอ คือ อำเภอพบพระ 5) จังหวัดเพชรบูรณ์ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มเก่า และอำเภอเขาค้อ และ 6) จังหวัดแม่ฮ่องสอน 1 อำเภอ คือ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นช่วงของการทดลองปลูก

หากแต่จำเป็นต้องมีการยื่นคำร้องขออนุญาตปลูกเฮมพ์ในพื้นที่นั้น ๆ และผู้ที่ได้รับอนุญาตจะต้องมีแผนการผลิต แผนการจำหน่าย และการนำไปใช้ประโยชน์ตามขั้นตอนที่ได้รับอนุญาต รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาปลูกในประเทศไทย ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ทางภาคเหนือมีการใช้เส้นใยจากลำต้นของต้นกัญชาเพศผู้ หรือเรียกว่า “กัญชง” กันมานาน โดยใช้เส้นใยจากลำต้นของเฮมพ์ที่ออกดอกใหม่ มีอายุระหว่าง 3-4 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่เส้นใยของเฮมพ์มีความเหนียว เบา และเป็นสีขาวเหมาะสำหรับการใช้เป็นเส้นใยทอผ้า จากการศึกษาพบว่า เส้นใยเฮมพ์เป็นเส้นใยธรรมชาติที่มีคุณภาพสูง มีความยืดหยุ่น แข็งแรง และทนทาน สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์จากเส้นใยได้มากมาย เช่น ผ้า และกระดาษได้ดี ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าเส้นใยจากฝ้าย และลินิน

เฮมพ์ แม้ว่าเป็นพืชตระกูลเดียวกับกัญชา ซึ่งเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่ง แต่เฮมพ์หรือกัญชงนั้นเป็นที่ยอมรับในวงการสิ่งทอว่า เฮมพ์มีเส้นใยที่มีคุณภาพสูง และกำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชเสาวนีย์ให้พิจารณาข้อดีของเฮมพ์ ตัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ออกไป สามารถส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ได้ ดังนั้นมูลนิธิโครงการหลวงร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จัดตั้งคณะทำงานวิจัยและพัฒนาการปลูก และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โดยนำร่องในพื้นที่ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ถือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ เนื่องจากชาวไทยภูเขาเผ่าม้งมีการปลูกเฮมพ์เพื่อใช้สอยในครัวเรือนกันอย่างแพร่หลายตามวิถีชีวิตดั้งเดิม

และในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อตั้งเป็น “สหกรณ์ผู้ปลูกเฮมพ์อำเภอพบพระ จังหวัดตาก” รองรับการปลูกเฮมพ์เชิงพาณิชย์ ที่มีแนวโน้มการเติบโตทางตลาดมากขึ้น โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้สนับสนุนพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกัญชงให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบันและอนาคต โดยมีแม่หม่อ แซ่หว่าง เป็นประธานสหกรณ์ผู้ปลูกเฮมพ์พบพระ จำกัด และดูแลอยู่ขณะนี้ นอกจากนี้ทางผู้ปลูกเฮมพ์อำเภอพบพระ ยังได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ที่ผลิตจากเส้นใยเฮมพ์ 100 เปอร์เซ็น

โดยเฉพาะการมุ่งคัดเลือกพันธุ์เฮมพ์ให้มีสาร THC หรือสารเสพติดต่ำ เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากกัญชา โดยมูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้ขึ้นทะเบียนสายพันธุ์เฮมพ์หรือกัญชงต่อกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554 จำนวน 4 สายพันธุ์ คือ พันธุ์อาร์พีเอฟ 1 (RPF1) พันธุ์อาร์พีเอฟ 2 (RPF2) พันธุ์อาร์พีเอฟ 3 (RPF3) และพันธุ์อาร์พีเอฟ 4 (RPF4)

เฮมพ์ (Hemp) หรือ “กัญชง” เป็นพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกัญชามาก เนื่องจากอยู่ในวงศ์เดียวกัน ดังนั้นลักษณะภายนอกหรือสัณฐานวิทยาของพืชทั้งสองชนิด จึงมีความแตกต่างกันน้อย จนบางครั้งยากต่อการจำแนกชนิด และทำให้เกิดความสับสนได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วพืชทั้งสองชนิดมีลักษณะที่ค่อนข้างแตกต่างกัน เช่น เฮมพ์มีลักษณะลำต้นสูงมากกว่า 2 เมตร ใบมีสีเขียวอมเหลืองรูปเรียวยาว มีการเรียงสลับของใบค่อนข้างห่างชัดเจน ทรงพุ่มเรียวเล็ก มีการแตกกิ่งก้านน้อย และไม่มียางเหนียวติดมือ เป็นต้น ในขณะที่กัญชามีลักษณะลำต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร ใบมีสีเขียวเข้มขนาดกว้างกว่าเฮมพ์ การเรียงตัวของใบจะชิดกันหรือเรียงเวียนใกล้กัน โดยเฉพาะใบประดับช่อดอกจะเป็นกลุ่มแน่นเห็นได้อย่างชัดเจน มีการแตกกิ่งก้านมาก และมักมียางเหนียวติดมือ ดังรูปที่ 1 (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, 2561; สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, 2562; Cannabis.info, 2562) 

ในกัญชามีสาร THC ประมาณร้อยละ 5 ถึง 15 และมีปริมาณ THC สูงกว่า CBD ในขณะที่เฮมพ์มีปริมาณ THC เพียงประมาณร้อยละ 0 ถึง 1.0 และมีสัดส่วนระหว่าง CBD มากกว่า THC คิดเป็น 2:1 ดังนั้นถ้าต้นที่มีสาร THC น้อยกว่าร้อยละ 0.3 ต่อน้ำหนักแห้ง จะถือว่าเป็น “เฮมพ์ (Hemp)” แต่ถ้ามีค่า THC สูงกว่านี้ถือว่าเป็น “กัญชา (Marijuana)” (พิชิต แก้วงาม, 2562) สำหรับความแตกต่างระหว่างพืชทั้งสองนั้น มีลักษณะภายนอกแตกต่างกันน้อยมาก โดยสามารถสังเกตทางพฤกษศาสตร์ในเบื้องต้นได้ดังนี้

ราก ของเฮมพ์และกัญชาเป็นระบบรากแก้ว (Tap root system) และมีรากแขนงเป็นจำนวนมาก

ลำต้น ของเฮมพ์จะมีลักษณะสูงเรียว เป็นเหลี่ยม โดยจะมีความกลมเฉพาะบริเวณโคนต้นเหนือจากพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร ความสูงของต้นมากกว่า 2 เมตร ต่างจากกัญชาที่ลำต้นมีลักษณะกลม และมีความสูงน้อยกว่า

ใบ ของเฮมพ์มีสีเขียวอมเหลืองขนาดเรียวยาว การเรียงตัวของใบค่อนข้างห่างชัดเจน และไม่มียางเหนียวติดมือ ส่วนกัญชาใบจะมีสีเขียวเข้มขนาดกว้างหนา การเรียงตัวของใบจะชิดกัน และมักจะมียางเหนียวติดมือ

ปล้องหรือข้อ ของเฮมพ์จะยาว มีระยะห่างของใบบนลำต้นกว้าง ซึ่งทำให้ทรงของต้นเฮมพ์เป็นพุ่มโปร่ง ส่วนกัญชาปล้องหรือข้อจะสั้น ระยะห่างของใบบนลำต้นแคบทำให้ทรงของต้นเป็นพุ่มทึบ

เปลือกเส้นใย ของเฮมพ์จะละเอียด เหนียว ลอกง่าย และให้เส้นใยยาวคุณภาพสูง ส่วนกัญชาเปลือกเส้นใยจะหยาบ บาง ลอกยาก และให้เส้นใยคุณภาพต่ำ

เมล็ด ของเฮมพ์จะมีขนาดใหญ่ ผิวเมล็ดหยาบด้าน และมีลายบ้าง ส่วนเมล็ดกัญชาจะมีขนาดเล็ก ผิวมีลักษณะมันวาว

ช่อดอก ของเฮมพ์จะมียางไม่มาก และมีสาร THC ร้อยละ 0.3-7 ส่วนกัญชานั้นจะมียางที่ช่อดอกมาก และมีสาร THC สูงถึงร้อยละ 1-10 ซึ่งเมื่อนำมาจุดไฟจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้งมีฤทธิ์หลอนประสาท ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่างเฮมพ์และกัญชา สามารถสรุปได้ตามตารางที่ 1 และสามารถแสดงลักษณะได้ดังรูปที่ 3-6


ที่มา: www.cannabis.info/en/blog/difference-indica-sativa-ruderalis-hybrid-plants (2562)


ที่มา: Rudd (2018)

ต้นสูงเรียว > 2 เมตร แตกกิ่งก้านน้อย และไปในทิศทางเดียวกัน ใบเรียวเรียงตัวห่างกัน และมีทรงพุ่มโปร่ง ปล้องหรือข้อยาว เปลือกหนา เหนียว และลอกง่าย ใบสีเขียวอมเหลือง ขอบใบย่อยในแต่ละแฉกโค้ง เส้นใยยาว และมีคุณภาพสูง มียางที่ช่อดอกไม่มาก ออกดอกเมื่ออายุ > 4 เดือน เมล็ดมีขนาดใหญ่ ผิวหยาบด้าน และมีลายบ้าง การปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถวแคบ เพราะต้องการเส้นใย ที่มา: สยาม อรุณศรีมรกต (2562)

ตารางที่ 2 ลักษณะทางเคมีของเฮมพ์ (Hemp) และกัญชา (Marijuana)

THC (Tetrahydrocannabinol)  CBD (Cannabidiol) ปริมาณเส้นใย (Fiber) สูงสุด ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (2562)

เฮมพ์เป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่ราก ลำต้น ใบ ดอก และเมล็ด แต่ส่วนหลัก ๆ ของเฮมพ์ที่เรานำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ ลำต้น เมล็ด และดอก ซึ่งชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทยมีการใช้เส้นใยที่ได้จากลำต้นของเฮมพ์กันมานานแล้ว โดยเส้นใยของเฮมพ์เหมาะสำหรับการใช้เป็นเส้นใยทอผ้า นอกเหนือจากเส้นใยแล้ว เมล็ด น้ำมันจากเมล็ดของเฮมพ์ และสารสกัดที่ได้จากดอกที่เรียกว่า สารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol; CBD) ก็สามารถำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม อาหารสุขภาพ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์บำรุงผิวได้อีกด้วย


ที่มา: Hash Marihuana and Hemp Museum (2019)


ที่มา: Eleanor Russell (2019); www.seekpng.com (2019)


ที่มา: Leafly Staff (2016)


ที่มา: Cannabis seeds (2019)

กระบวนการลอกเปลือก (Decorticating) โดยส่วนเปลือกของลำต้นจะให้เส้นใยที่เรียกว่า Fiber bast และส่วนของแกนด้านในของลำต้นจะให้เส้นใยที่เรียกว่า Fiber hurd แสดงลักษณะเส้นใยดังรูปที่ 7 ทั้งนี้สามารถนำเส้นใยทั้งสองชนิดที่ได้จากเฮมพ์มาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังรูปที่ 8-12 ได้ดังนี้

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เส้นใยจากเฮมพ์เป็นเส้นใยธรรมชาติที่มีคุณภาพสูง มีความยืดหยุ่นสูง แข็งแรง ทนทาน สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเสื้อผ้า ซึ่งแม้ว่าเส้นใยที่ได้จากเฮมพ์จะให้ผ้ามีรอยย่นหรือเกิดรอยยับได้ง่าย แต่ด้วยลักษณะของเส้นใยที่สามารถลอกออกเป็นชั้น ๆ จึงนำมาผลิตเป็นผ้าที่บางได้ตามที่ต้องการ และยังสามารถซักด้วยเครื่องซักผ้าได้อีกด้วย สำหรับเสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยเฮมพ์เวลาสวมใส่จะทำให้รู้สึกเย็นสบายในฤดูร้อน และอบอุ่นในฤดูหนาว โดยเส้นใยเฮมพ์มีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นได้ดีกว่าไนลอน แข็งแรงกว่าผ้าฝ้าย และอบอุ่นกว่าลินนิน ดังรูปที่ 8 

อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ เส้นใยที่ได้จากเปลือกของต้นเฮมพ์นั้นมีความยาวตั้งแต่ 1-5 เมตร จึงเหมาะสำหรับการผลิตกระดาษ โดยในต่างประเทศจะใช้เส้นใยของเฮมพ์ผลิตกระดาษที่มีคุณภาพสูง เช่น กระดาษมวนบุหรี่ (Cigarette paper) (ดังรูปที่ 9) ธนบัตร (Bank notes) กระดาษกรอง (Technical filters) และผลิตภัณฑ์สุขอนามัย (Hygiene products) ในส่วนของเส้นใยที่ได้จากแกนเฮมพ์มีเส้นใยที่สั้นกว่าที่ใช้ผลิตกระดาษที่มีคุณภาพรองลงมา การปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำกระดาษนั้นสามารถเป็นตัวอย่างด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมชัดเจน ซึ่งพืชที่ใช้ทำกระดาษคุณภาพดี อาทิ ยูคาลิปตัสและสน อายุประมาณ 6-8 ปี และปอกระสา อายุประมาณไม่น้อยกว่า 3 ปี ล้วนเป็นพืชยืนต้นที่มีการเจริญเติบโตช้ามาก กว่าจะเก็บเกี่ยวได้ต้องปลูกเป็นลักษณะสวนป่าใช้เวลานานหลายปี การปลูกก็ต้องใช้พื้นที่มาก และเมื่อตัดแล้วจะฟื้นคืนคุณภาพพื้นที่ปลูกได้ยาก ปลูกซ้ำได้ไม่กี่ครั้งเพราะจะมีเหง้าและตออยู่ ทำให้ดูเป็นลักษณะทำลายสิ่งแวดล้อม เมื่อเทียบกับเฮมพ์ที่สามารถปลูกซ้ำในพื้นที่เดิมได้โดยต่อเนื่องไม่ต้องมีการดูแลรักษา หรือจัดการพื้นที่มากนัก 

อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ตั้งแต่จักรยานจนถึงเครื่องบิน โดยใช้เส้นใยของเฮมพ์เป็นส่วนประกอบของพลาสติกเพื่อเพิ่มความเหนียว ทนต่อแรงกระแทก และมีความยืดหยุ่นสูง วัสดุที่มีส่วนผสมจากเส้นใยเฮมพ์จะมีน้ำหนักเบา สามารถลดอันตรายจากอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้ยังมีการใช้เส้นใยเฮมพ์ร่วมกับเส้นใยจากธรรมชาติชนิดอื่นในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติกอื่น ๆ เช่น ฉนวนกันเสียง เป็นต้น ดังรูปที่ 10

ส่วนของแกนต้นเฮมพ์ใช้ทำวัสดุรองนอนของสัตว์ เช่น ม้า โดยมีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้ดีประมาณ 5 เท่าของน้ำหนัก ไม่มีฝุ่น และกำจัดได้ง่าย ในต่างประเทศเป็นที่ต้องการอย่างมาก คุณสมบัติในการดูดซับนี้ยังมีการนำไปใช้เพื่อดูดซับ และกำจัดคราบน้ำมันได้อีกด้วย

อุตสาหกรรมก่อสร้าง เส้นใยของเฮมพ์สามารถใช้ทำเป็นวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างได้ เช่น ฉนวนกันความร้อน (Fiberboard) และคอนกรีต (Concrete) ดังรูปที่ 11 โดยวัสดุที่ทำจากเส้นใยเฮมพ์นั้นจะมีความแข็งแรง ทนทาน และมีน้ำหนักเบา 

อุตสาหกรรมผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ สามารถนำมาผลิตเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในเวลาไม่ถึง 1 ปี หลังจากถูกทิ้ง เป็นหนทางไปสู่ธุรกิจสีเขียวที่สามารถแก้ปัญหาขยะพลาสติกได้ในอนาคต ดังรูปที่ 12


ที่มา: Small (2015)


ที่มา: Pickering (2019)


ที่มา: Beamer Smoke (2019)


ที่มา: Richard (2019)


ที่มา: IsoHemp (2019)


ที่มา: American Golden Biotech (2019)


บทความฉบับนี้ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากโครงการวิจัย เรื่อง “การปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ที่ปลูกในดินปนเปื้อนแคดเมียม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (RDG62T0053)” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พันธวัศ สัมพันธ์พานิช เป็นหัวหน้าโครงการฯ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ 2562 อันเป็นประโยชน์ต่อความสำเร็จของการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้



ประภัสสร ทิพย์รัตน์. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่. “พืชกัญชา: ความรู้ทั่วไป และการตรวจสอบสารสำคัญ”. [ออนไลน์]. 2562 แหล่งที่มา: https://www.oncb.go.th/ncsmi/cannabis4/.pdf. [17 เมษายน 2562]
พิชิต แก้วงาม.“เฮมพ์” จากพืชต้องห้ามสู่พืชเศรษฐกิจ. [ออนไลน์]. 2562. แหล่งที่มา: http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/hemp.pdf. [10 เมษายน 2562]
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). เฮมพ์พันธุ์ใหม่ของประเทศไทย, นางสริตา ปิ่นมณี. [ออนไลน์]. 2560. แหล่งที่มา: https://www.hrdi.or.th/Articles/Detail/18 [26 เมษายน 2562]
สยาม อรุณศรีมรกต. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. พฤกษศาสตร์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์การปลูกและการผลิตทั่วไปและแบบแม่นยำในพืชกัญชง กัญชา.  [ออนไลน์]. 2562. แหล่งที่มา:https://www.nfc.or.th/wp-content/uploads/download-manager-files/seminar-62-005.pdf. [5 เมษายน 2562]
สุรัติวดี ภาคอุทัย และกนกวรรณ ศรีงาม. [ออนไลน์]. 2551. รายงานฉบับสมบูรณ์, การศึกษาวิจัย และพัฒนา Test kit เพื่อวิเคราะห์ปริมาณสาร THC ในกัญชง, ภายใต้ชุดโครงการ : โครงการพัฒนากัญชงเชิงเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการสร้างมูลค่า. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เชียงใหม่. แหล่งที่มา: http://mis.agri.cmu.ac.th/ download/research/0-003-B-51_file.doc. [24 เมษายน 2562]
สำนักงานเกษตรอำเภอพบพระ จังหวัดตาก.  “มารู้จัก “กัญชง” กันเถอะ…”. [ออนไลน์]. 2562. แหล่งที่มา: www.tak.doae.go.th. [9 เมษายน


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ วารสารสิ่งแวดล้อม

1

ขอบเขตของเนื้อหา

วารสารสิ่งแวดล้อม เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 6 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการและที่ปรึกษาวารสารสิ่งแวดล้อม

เปิดรับบทความ/ข้อเขียนที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อมทุกด้าน โดยจัดส่งต้นฉบับผ่านทางระบบ Submission พร้อมระบุชื่อและนามสกุล สถานที่ติดต่อ และเบอร์โทรศัพท์ ของผู้เขียน/ผู้รับผิดชอบบทความ

  • ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์
  • กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
  • ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
  • นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
  • บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
  • ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
  • วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
  • วัชราภรณ์ สุนสิน
  • ศีลาวุธ ดำรงศิริ
  • อาทิมา ดับโศก

วารสารสิ่งแวดล้อม

เป็นวารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม โดยจัดพิมพ์เผยแพร่ฉบับแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2539 และเริ่มเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ปีที่ 23 ปี 2562

ส่งบทความ

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

วารสารสิ่งแวดล้อม (Environmental Journal) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

วารสารสิ่งแวดล้อมเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

วารสารสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ https://ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

ISSN (PRINT) : 0859-3868
ISSN (ONLINE) : 2586-9248
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มิถุนายน และ ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สำหรับสำนักพิมพ์

วารสารสิ่งแวดล้อมเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังวารสารสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • วารสารสิ่งแวดล้อมปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

ISSN (PRINT) : 0859-3868
ISSN (ONLINE) : 2586-9248
Thai-Journal Citation Index (TCI), กลุ่มที่ 3

© 2024 Environmental Journal, All rights reserved.

ติดต่อเรา

วารสารสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 15 อาคารสรรพศาสตร์วิจัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ej@chula.ac.th