บทความ: การ รู้-รับ-ปรับ-ฟื้นของชุมชนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ

บทความนี้นำเสนอมุมมองของ “การรู้รับปรับฟื้น” ของชุมชน (Community Resilience) จากภัยพิบัติที่เป็นผลกระทบสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ มักมีคำถามถึงความหมายของคำว่า “Resilience” ว่าแท้จริงแล้วมีหมายความว่าอย่างไร และเหตุใดผู้เขียนจึงเลือกจะแปลคำนี้ว่า “รู้รับปรับฟื้น” ดังนั้น เนื้อหาในบทความนี้ก่อนอื่นจะขอทำความเข้าใจในการให้ความหมายของคำว่า Resilience เสียก่อน จากนั้นจะกล่าวถึง Community Resilience ในบริบทของประเทศไทย

คำว่า Resilience มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน (resilio) แปลว่า ‘to jump back’ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานให้ความหมายคำว่า Resilience (รีซิล'เยินซฺ) ว่าหมายถึง ความยืดหยุ่น ส่วน Dictionary ฉบับอังกฤษ-อังกฤษ ให้ความหมายไว้ว่า Strong enough to deal with shock, change, illness นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการในหลากหลายศาสตร์ได้ให้ความหมายของคำว่า Resilience ไว้อย่างหลายหลาย เช่น ความสามารถในการคงอยู่/อยู่รอด (Persistence) (Holling, 1973, p.14) ความสามารถในการต้านทาน (Resistance/Withstand) (Mileti, 1998) ความสามารถในการรปรับตัว (Adaptive Capacity) (Comfort, 1999) และอื่น ๆ 
บทความนี้ได้ยกภาพตัวอย่าง ต้นไม้น้อยที่สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย และภาพของต้นไม้ที่ต้องยืนยัดต้านทานกระแสลมแรง ซึ่งผู้เขียนนำมาใช้สื่อเพื่อให้เกิดภาพสะท้อนของความหมายของคำว่า Resilience ในมิติต่าง ๆ

ในการศึกษาและการวิจัยด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Adaptation) และงานวิจัยด้านการลดความเสี่ยงหรือการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster Risk Reduction/Disaster Management) คำว่า Resilience มักถูกพบและใช้บ่อยครั้ง ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้ทำการศึกษาวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาแนวทาง “การรู้รับปรับฟื้น” จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติของชุมชนในบริบทประเทศไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยใช้กระบวนการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Disaster Risk Management: CBDRM) ในการขับเคลื่อนและสร้างศักยภาพในการรู้รับปรับฟื้นของชุมชนจากภัยพิบัติ

2.1 เรียนรู้ความเสี่ยง (Learning a Risk)
ภายใต้กระบวนการ CBDRM ชุมชนจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อเข้าใจความเสี่ยงของชุมชนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ เพื่อให้สามารถหาแนวทางการป้องกัน การลดความเสี่ยง การเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ โดยข้อมูล (Data) และความรู้ (Knowledge) เกี่ยวกับสภาพอากาศ ภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา อุทกวิทยา การจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ และองค์ความรู้สหศาสตร์ด้านต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ชุมชนเข้าใจความเสี่ยงได้ดีและแม่นยำมากขึ้น แต่อุปสรรคคือข้อมูลและองค์ความรู้ต่าง ๆ นั้น ยังคงยากแก่การเข้าถึงและเข้าใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชุมชนในท้องถิ่น ดังนั้น การจัดทำข้อมูลที่เข้าใจง่าย และมีความเฉพาะเจาะจงถึงความเสี่ยงรายชุมชนและรายครัวเรือน เพื่อให้ชุมชนรู้และสามารถประเมินความเสี่ยงของครัวเรือนและชุมชนตนเองได้ในเบื้องต้น จึงเป็นภารกิจสำคัญอย่างยิ่งในการเริ่มต้นสร้างการรู้รับปรับฟื้น (Resilience) ของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ

การจัดทำแผนที่ความเสี่ยงและความเปราะบางของชุมชนต่อภัยพิบัติ (Community Disaster Risk and Vulnerable Map) ช่วยให้ชุมชนสามารถประเมินระดับความเสี่ยงของครัวเรือนตนเองได้ในเบื้องต้น

2.2 การมือกับความเสี่ยง (Risk Acceptance and Coping)
การ “รับมือ” ในที่นี้สามารถสื่อได้ทั้ง “การยอมรับความเสี่ยง” (Risk Acceptance) และความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยง (Risk Coping Ability) ที่กำลังเผชิญ ซึ่งแต่ละชุมชนจะมีความสามารถในการรับมือที่แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ ความสามารถ กำลังคน กำลังทรัพย์ รวมถึงทรัพยากรต่าง ๆ

ตัวเพื่อรับมือกับความเสี่ยง (Adaptation)
การ “ปรับตัว” ในที่นี้ไม่เพียงเป็นการปรับเฉพาะการเผชิญเหตุเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการปรับเปลี่ยนในระยะยาวที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือได้อย่างยั่งยืน ทั้งความสามารถในการปรับตัว (Adaptive Capacity) ความสามารถในการปรับเปลี่ยน และจัดการกับความเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นปัจจัยสำคัญขั้นต่อมาที่จะนำไปสู่การรู้รับปรับฟื้น ซึ่งในบทความนี้ได้ยกภาพตัวอย่างของความสามารถในการปรับตัวของรากต้นไม้ใหญ่ในการยึดเกาะเพื่ออยู่รอดไม่เพียงเฉพาะหน้า แต่เป็นการเพิ่มความสามารถของรากเพื่อป้องกันการพังทลายของดินในอนาคตด้วย 

คืนให้กลับมาดีกว่าเดิม (Bounce Back Better)
การ “ฟื้นตัว” ในที่นี้คือสามารถฟื้นในระดับที่กลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้ แต่เปลี่ยนแปลงรูปแบบและประโยชน์ไปจากเดิม หรืออาจจะสามารถฟื้นตัวกลับมาให้อยู่ในสภาพที่ดีกว่าเดิมได้ และพร้อมรับกับความเสี่ยงในอนาคตได้ หมายถึงการบรรลุซึ่งการรู้รับปรับฟื้นได้อย่างสมบูรณ์ สำหรับบทความนี้ขอยกตัวอย่างแก้วชาที่แตกและถูกซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ด้วยทองคำ ทำให้ดูสวยและมีคุณค่าในรูปแบบที่แตกต่างออกไป

การ รู้-รับ-ปรับ-ฟื้น ของชุมชนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติในบทความนี้ได้ยกตัวอย่างความหมายและการสะท้อนความหมายจากภาพ รวมถึงตัวอย่างจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่จะนำมาซึ่งการเพิ่มความสามารถในการรู้-รับ-ปรับ-ฟื้นได้ในระดับชุมชน ผู้อ่านสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ “การ รู้-รับ-ปรับ-ฟื้น ของชุมชนจากภัยพิบัติ (Community Disaster Resilience) ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้จาก QRCode ด้านล่าง หรือเว็บไซต์ของสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย