บทความ: พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและผลกระทบต่อพื้นที่ใช้ประโยชน์สำหรับการเกษตรของจังหวัดน่าน

1 สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2 สาขาวิชาการจัดการชุมชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
3 ภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
4 ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


1. สถานการณ์ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่

ตารางที่ 1 ข้อมูลสถิติประกาศภัยแล้งบ่อยครั้งของจังหวัดน่านในช่วงปี พ.ศ. 2555 – 2562 (สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน, 2564)

ตารางที่ 2 ข้อมูลสถิติภัยแล้งของจังหวัดน่านและมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2560 – 2563 (สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน, 2564)

2. แหล่งน้ำที่สำคัญและปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดน่าน 
3. แผนเผชิญเหตุภัยแล้งจังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2564
กลุ่มพยากรณ์ ทำหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ น้ำท่า ระดับน้ำในแหล่งต่าง ๆ รวมถึงวิเคราะห์ต้นทุนน้ำและความต้องการใช้น้ำด้านต่าง ๆ กลุ่มบริหารจัดการน้ำ ทำหน้าที่วางแผนการใช้น้ำในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณต้นทุนน้ำและสถานการณ์ใช้น้ำในพื้นที่ และ กลุ่มปฏิบัติการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ ทำหน้าที่ดำเนินงานแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยให้ความสำคัญกับปัญหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนเป็นอันดับแรก และกำหนดการแบ่งพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบให้ครอบคลุมในแต่ละพื้นที่ ขณะเดียวกัน ในภาคการเกษตร แผนเผชิญเหตุภัยแล้งจังหวัดน่านได้กำหนดแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการเกษตรและแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ไว้ดังนี้ 

3.1 แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการเกษตร 
แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการเกษตรของจังหวัดน่าน ในช่วงฤดูแล้งปี พ.ศ. 2564 ได้ระบุพื้นที่เพาะปลูกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ของที่ดินเพื่อการเกษตรดังนี้
- พื้นที่ปลูกพืชผัก                                                     จำนวน 50,435 ไร่
- พื้นที่ปลูกพืชไร่                                                      จำนวน 11,910 ไร่
- พืชไร่และพืชผัก (ทั้งในและนอกเขตชลประทาน)       จำนวน  8,337 ไร่
- พื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง                                               จำนวน  4,600 ไร่

3.2 แผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง 
สำหรับแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งภายใต้แผนเผชิญเหตุภัยแล้งจังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2564 (ในรอบปีการผลิต 2563/64) จำแนกเขตการเพาะปลูกทั้งในและนอกเขตชลประทานดังนี้ (ตารางที่ 3) เป็นที่สังเกตว่า พื้นที่เพาะปลูกนอกเขตพื้นที่ชลประทานครอบคลุมพื้นที่ในสัดส่วนที่สูงกว่าพื้นที่ในเขตเพาะปลูกในเขตพื้นที่ชลประทาน ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาสถานีสูบน้ำในพื้นที่ ศึกษาความเป็นไปได้ในการกระจายน้ำระหว่างสถานีสูบน้ำ ตลอดจนการบริหารจัดการน้ำให้ทั่วถึงและสอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำทั้งในและนอกเขตพื้นที่ชลประทานจึงเป็นประเด็นความท้าทายเชิงพื้นที่ที่สำคัญ

อภิปราย
- การระบุพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในระดับพื้นที่จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลกลางประกอบการตัดสินใจแก้ไขหรือบรรเทาปัญหา ตลอดจน การสื่อสารความเสี่ยงต่อประชาชนหรือเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งทั้งในและนอกเขตชลประทาน 
- การทำแผนที่ภัยแล้งที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลความต้องการน้ำสำหรับการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิดในพื้นที่ชุมชน
- กระบวนการสื่อสาร สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีการปรับตัว รับมือ และบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งระดับชุมชน ครัวเรือนและบุคคล ตลอดจน สร้างเสริมศักยภาพของชุมชนและกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาระหว่างรุ่นในการรับมือกับปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ 
- ข้อจำกัดในการพัฒนาพื้นที่กักเก็บน้ำเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดน่านเป็นพื้นที่เขาสูงชัน 
- การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลน้ำต้นทุน (Water Budget) หรือ บัญชีน้ำ (Water Accounting) รวมถึงความต้องการใช้น้ำของทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบและบูรณาการ
- ศึกษาความเป็นไปได้ในการกระจายน้ำระหว่างสถานีสูบน้ำจากแม่น้ำสายหลักสู่ระดับชุมชน
- ประเด็นอื่นที่สัมพันธ์กับมิติของสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรน้ำและความยั่งยืนของชุมชน


กิตติกรรมประกาศ
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน (2564) แผนเผชิญเหตุภัยแล้งจังหวัดน่าน ปี 2564