สุทธิรัตน์ กิตติพงษ์วิเศษ 1, อาทิตย์ เพ็ชร์รักษ์ 2, เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ 3,*, จงรักษ์ ผลประเสริฐ 4
1 สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
3 ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* E-mail: jenyuk.l@chula.ac.th


ปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยมีการใช้พลาสติกเป็นสารตั้งต้นการผลิตในเกือบทุกสาขาและผลิตภัณฑ์ อาทิ บรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนวัสดุก่อสร้าง ขนส่งยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์ เครื่องใช้ในครัวเรือน และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากข้อมูลรายงานสถิติการผลิตพลาสติกของประเทศพบว่าการใช้ประโยชน์พลาสติกเป็นวัสดุสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์ (Packaging) มีสัดส่วนสูงสุดและเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดขยะมากที่สุด โดยสถาบันพลาสติกรายงานข้อมูลการใช้พลาสติกเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2558 สูงถึง 2.048 ล้านตัน ในจำนวนนี้ประกอบด้วยการผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทถุง 0.476 ล้านตัน การผลิตถาดโฟม 0.09 ล้านตัน และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น กล่อง ถ้วย 1.482 ล้านตัน ตามลำดับ โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าขยะพลาสติกเกิดขึ้นในประเทศทั้งสิ้นร้อยละ 12 ของปริมาณขยะทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน โดยตัวอย่างขยะพลาสติกที่พบส่วนใหญ่ในสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ถุงพลาสติกประเภทถุงร้อน ถุงเย็น ถุงหูหิ้วที่ทำจากพลาสติกประเภท Polypropylene High-Density-Polyethylene และ Low-Density-Polyethylene  เป็นต้น

ขยะพลาสติกที่มีขนาดเล็กซึ่งเกิดจากการแตกตัว (disintegration) การหลุดลอกของเนื้อพลาสติกขนาดใหญ่โดยเฉพาะพลาสติกในกลุ่ม Oxo-biodegradable หรือ Oxo-fragmentable เช่นพลาสติกในกลุ่ม Polyethylene Polystyrene และ Polyvinyl chloride ซึ่งแตกตัวออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ รวมไปถึงขยะพลาสติกที่มีอนุภาคขนาดเล็กตั้งแต่เริ่มแรกปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะมลสารประเภทไมโครพลาสติกที่มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 5 มม. ซึ่งมักใช้เป็นสารตั้งต้นของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ไมโครบีด (Microbeads) เม็ดบีดสครัป ของผลิตภัณฑ์หรือสารเติมแต่งในเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์พวกยาสีฟัน แชมพู ครีมขัดผิว ครีมโกนหนวด รวมไปถึงเส้นใยสังเคราะห์จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอในแหล่งน้ำ แม่น้ำและทะเล โดยทั่วไปแล้ว ธรรมชาติของไมโครพลาสติกคือมีขนาดอนุภาคเล็ก เบาและลอยน้ำได้จึงมักหลุดรอดจากกระบวนการบำบัดน้ำเสียและไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

สะสมได้ในห่วงโซ่อาหารและมีความเป็นพิษ (Persistent bio-accumulative and toxic substances: PBTs) เนื่องจากอนุภาคดังกล่าวสามารถดูดซับมลสารชนิดอื่นที่ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำได้ อาทิ โลหะหนัก สารมลพิษที่ตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม (Persistent organic pollutants: POPs) ไฮโดรคาร์บอนที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น Polychlorinated Biphenyls (PCBs) เป็นต้น ทั้งนี้ การรวมตัวกันของอนุภาคไมโครพลาสติกและมลสารที่มีความเป็นพิษส่งผลต่อคุณภาพน้ำแหล่งน้ำและห่วงโซ่อาหารอาจนำไปสู่ผลกระทบที่อาจมีต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคหรือสัมผัสมลสารเหล่านั้นที่พบในแหล่งน้ำ เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัย การเปลี่ยนแปลงของยีนและระบบพันธุกรรม รวมไปถึงศักยภาพในการก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น ถึงแม้ว่ากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นสาเหตุสำคัญของการปนเปื้อนมลสารประเภทไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้เครื่องสำอางและเวชภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน หรือการซักผ้าที่มีเส้นใยพลาสติกเป็นองค์ประกอบ ล้วนแต่เป็นสาเหตุของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในน้ำเสียชุมชนซึ่งระบบบำบัดไม่สามารถกำจัดและบำบัดมลสารดังกล่าวได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยในต่างประเทศหลายแห่งได้ศึกษารวบรวมและประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับมลสารประเภทไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำเสียดิบและระบบบำบัดน้ำเสียดังต่อไปนี้ 

ไมโครพลาสติก หมายรวมถึง อนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มม. มีแหล่งกำเนิดมาจากพลาสติกที่ใช้เป็นสารตั้งต้นที่ในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตและสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น สารตั้งต้นประเภท Polyethylene  Polypropylene  Polystyrene (Fendall and Sewell, 2009) และ ไมโครพลาสติกที่ใช้เป็นสารตั้งต้นของผลิตภัณฑ์เวชสำอาง อาทิ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ชำระล้าง (Rinse-off cosmetic) รวมถึง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและผลัดเซลล์ผิวหน้า ได้แก่ เม็ดบีดส์ (Microbeads/ scrubbers) ที่พบในโฟมล้างหน้า สบู่อาบน้ำ ยาสีฟัน แชมพูสระผม เป็นต้น โดยทั่วไปมักพบในรูปร่างทรงกลม ทรงรี หรือมีรูปร่างไม่แน่นอน มักผลิตจากวัสดุพอลิเมอร์หรือพลาสติกชนิดต่างๆ ที่ไม่สามารถย่อยสลายทางธรรมชาติในระยะเวลาอันสั้นและยังหมายรวมถึงการย่อยสลายของขยะพลาสติกชิ้นใหญ่ ขยะที่มีเส้นใยหรือมีพลาสติกเป็นองค์ประกอบเองอีกด้วย สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน สภาผู้แทนราษฎรของประเทศสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติพระราชบัญญัติว่าด้วยการปลอดเม็ดไมโครบีด ในแหล่งน้ำ (The Microbead Free Water Act 2015) โดยมีสาระสำคัญในการห้ามผลิต จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไมโครบีดดังกล่าวและมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 2017 สำหรับชนิดไมโครพลาสติกจำแนกตามธรรมชาติของอนุภาคและแหล่งกำเนิดสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

Primary microplastic หมายถึง ไมโครพลาสติกที่มีการผลิตเป็นพลาสติกขนาดเล็กมาตั้งแต่ต้น เช่นเม็ดพลาสติกที่นำมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นของการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น พลาสติกเอทิลีนโพรพิลีน โพลี   สไตรีน เป็นต้น หรือไมโครบีดที่ใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชภัณฑ์ โดยมากพบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกดังกล่าวจากการทิ้งของเสียโดยตรงจากบ้านเรือนลงสู่แหล่งน้ำเสียชุมชน 

Secondary microplastic หมายถึง ไมโครพลาสติกที่เกิดจากพลาสติกขนาดใหญ่ซึ่งสะสมในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน เกิดการย่อยสลาย แตกหักกลายเป็นอนุภาคหรือชิ้นส่วนขนาดเล็กในสิ่งแวดล้อม 

การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำมักเกิดจากกิจกรรมการอุปโภคผลิตภัณฑ์หรือเวชสำอางที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อมีการใช้ผลิตภัณฑ์หนึ่งครั้งจะก่อให้เกิดการปล่อยไมโครพลาสติกหรือเม็ด ไมโครบีดส์ลงสู่ท่อระบายน้ำประมาณ 4,594-95,000 เม็ด และพบการปนเปื้อนในแหล่งน้ำเสียชุมชนและแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก ทั้งนี้ มีการคาดการณ์อัตราการทิ้งของเสียประเภทไมโครพลาสติกลงสู่แหล่งน้ำประมาณ 40.5-215 มก.ต่อคน·วัน หรือ 16-86 ตันต่อปี (Napper, 2015) โดยเส้นทางการเคลื่อนที่ของมลสารในแหล่งน้ำมักผ่านเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน และเนื่องจากอนุภาคของไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กและเบาจึงมักลอดผ่านกระบวนการบำบัดในขั้นต่าง ๆ และปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติในที่สุด ส่วนอนุภาคของไมโครพลาสติกส่วนหนึ่งที่มีไบโอฟิล์มมาเกาะบนพื้นผิวในขณะที่เคลื่อนที่ในระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและสามารถตกตะกอนลงได้ อนุภาคส่วนนี้จะสะสมในรูปแบบของสลัดจ์

Polyethylene terephthalate แบบ Fibers และ Polyethylene แบบ Irregular shape ในสัดส่วนสูงที่สุด โดยแหล่งกำเนิดของไมโครพลาสติกดังกล่าวอาจจะเกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ เช่น ยาสีฟัน แชมพู รวมไปถึงการทำความสะอาด ซักล้างเสื้อผ้าที่มีเส้นใยพลาสติกเป็นองค์ประกอบ 

นอกจากนี้ ผลศึกษาพบว่าความเข้มข้นของไมโครพลาสติกในตัวอย่างน้ำที่ผ่านการบำบัดขั้นที่สองมีค่าลดลงประมาณ 66% เมื่อเทียบกับตัวอย่างน้ำที่ผ่านการบำบัดขั้นแรก โดยคาดการณ์ว่า WWTP (B) จะมีการปล่อยน้ำเสียที่มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนลงมหาสมุทรประมาณ 8.16 x 106 หน่วยต่อวัน ส่วนผลการศึกษาตัวอย่างน้ำที่ผ่านการบำบัดขั้นต้น ขั้นที่สาม และ  ระบบ RO ใน WWTP (C) พบ Polyethylene terephthalate แบบ Fibers มากที่สุดเมื่อเทียบกับไมโครพลาสติกชนิดอื่น โดยตรวจพบในระบบบำบัดขั้น ที่สาม (65% ของไมโครพลาสติกที่พบ) และระบบ RO (88% ของไมโครพลาสติกที่พบ) ตามลำดับ 
จากที่กล่าวมาข้างต้นเนื่องจากไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กมากและมีความเบาทำให้อนุภาคดังกล่าวมีการแพร่กระจายในระยะทางไกล (Long-range transport) ในแหล่งน้ำ หากแต่ กระบวนการติดตาม ตรวจวัดและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของมลสารดังกล่าวจึงมีความจำกัด ทั้งนี้ งานวิจัยหลายชิ้นตรวจพบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำธรรมชาติหลายแห่งทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรปและอเมริกา ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 1

 ขนาดอนุภาค/ตัวอย่างที่พบ Lake Hovsgol, ประเทศมองโกเลีย
: เอเชีย
Free et al., 2014 <2 มม., <5 มม. (ตะกอนดิน)
<5 มม., >5 มม. (น้ำ)
Sampling mesh: 300 มคม.
Lake Garda, ประเทศอิตาลี
: ยุโรป
Imhof et al., 2013 <2 มม., 2-20 มม.
Sampling mesh: 500 มคม.
Tamar estuary, ประเทศอังกฤษ
: ยุโรป
Sadri and Thompson, 2014 0.355-0.999 มม., 1.00-4.749 มม., >4.75 มม. 
Sampling mesh: 333 มคม.
การสะสมของไมโครพลาสติกย่อมส่งผลต่อระบบนิเวศวิทยาและแหล่งน้ำ โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายของมลสาร และการย่อยสลายของไมโครพลาสติกเองทำให้อนุภาคมีขนาดเล็กลงทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสมากขึ้นและเพิ่มโอกาสในการดูดซับมลสารชนิดอื่นที่ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำได้มากขึ้น อีกทั้ง ไมโครพลาสติกยังมีคุณสมบัติแบบ Hydrophobic จึงดูดซับสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้ดี หรืออาจกล่าวได้ว่า ไมโครพลาสติกขนาดเล็กดังกล่าวมักทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสะสมและเคลื่อนย้ายสารพิษชนิดอื่นที่ปนเปื้อนในระบบบำบัดน้ำเสีย เช่น กลุ่มสารอินทรีย์ที่มีการตกค้างยาวนาน ได้แก่ Aldrin, Chlordane, DDT, Dieldrin, Heptachlor, Mirex และ Toxaphene ที่มักพบในกลุ่มยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช หรือ  สารในกลุ่ม Hexachlorobenzene และ Polychlorinated biphenyls ซึ่งมักพบในสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม เป็นต้น 

 
สถานการณ์และการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่เริ่มมีการศึกษาอย่างแพร่หลายในต่างประเทศอยู่บ้างโดยเป็นการตรวจวิเคราะห์ จำแนกคุณลักษณะ รวมไปถึงระบุแหล่งกำเนิดของไมโครพลาสติกที่ตรวจพบได้ เป็นต้น เนื่องจากฐานข้อมูลวิจัยของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อดังกล่าวมีอยู่อย่างจำกัด และวิธีการและมาตรฐานที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ (Analytical methods) ยังไม่มีการกำหนดแน่ชัดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รูปภาพที่ 1 แสดงเส้นทางการเคลื่อนที่ของไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสีย และพิจารณาตามชนิดและสัดส่วนไมโครพลาสติกที่พบในแหล่งน้ำเสียแล้วพบว่า ไมโครพลาสติกแบบ Fiber มีอยู่มากในระบบบำบัดน้ำเสียหลายแห่ง และรองลงมาคือ แบบ Fragment (San Francisco Estuary Institute, 2015)

ที่มา: Mason et al. (2016), San Francisco Estuary Institute (2015), Cosmeticsinfo (2017)

ตารางที่ 2 ผลวิเคราะห์มลสารไมโครพลาสติกในตัวอย่างน้ำเสียที่ตรวจพบในแต่ละขั้นตอนการบำบัด (Carr et al., 2016)

Grit 1st Skimming 2nd Skimming Centrate thickening system (CTS) influent  Thickened centrate Biosolids Final effluent Grit + biosolids + final effluent Grit + biosolids Influent แม้ว่าประเด็นมลสารไมโครพลาสติกกำลังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ใหม่และมีความท้าทายในเชิงวิศวกรรมและการจัดการ อย่างไรก็ดี การรวบรวมฐานข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันและพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับไมโครพลาสติกภายในประเทศ โดยเฉพาะการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์การปนเปื้อนมลสารประเภท ไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนและเทคโนโลยีการบำบัดที่เกี่ยวข้องยังมีอยู่จำกัด

คณะผู้วิจัยขอขอบคุณกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ปีงบประมาณ 2561 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการวิจัยภายใต้แผนบูรณาการวิจัย นวัตกรรม ยุทธศาสตร์การวิจัยเป้าหมายที่ 2 ยุทธศาสตร์ชาติ ที่สนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยและบทความวิชาการนี้ 



บทความอื่นๆ

Read More

บทความ: จากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคตของนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นกับการท่องเที่ยวประเทศไทย

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ วารสารสิ่งแวดล้อม

1

ขอบเขตของเนื้อหา

วารสารสิ่งแวดล้อม เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 6 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการและที่ปรึกษาวารสารสิ่งแวดล้อม

เปิดรับบทความ/ข้อเขียนที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อมทุกด้าน โดยจัดส่งต้นฉบับผ่านทางระบบ Submission พร้อมระบุชื่อและนามสกุล สถานที่ติดต่อ และเบอร์โทรศัพท์ ของผู้เขียน/ผู้รับผิดชอบบทความ

  • ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์
  • กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
  • ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
  • นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
  • บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
  • ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
  • วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
  • วัชราภรณ์ สุนสิน
  • ศีลาวุธ ดำรงศิริ
  • อาทิมา ดับโศก

วารสารสิ่งแวดล้อม

เป็นวารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม โดยจัดพิมพ์เผยแพร่ฉบับแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2539 และเริ่มเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ปีที่ 23 ปี 2562

ส่งบทความ

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

วารสารสิ่งแวดล้อม (Environmental Journal) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

วารสารสิ่งแวดล้อมเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

วารสารสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ https://ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

ISSN (PRINT) : 0859-3868
ISSN (ONLINE) : 2586-9248
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มิถุนายน และ ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สำหรับสำนักพิมพ์

วารสารสิ่งแวดล้อมเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังวารสารสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • วารสารสิ่งแวดล้อมปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

ISSN (PRINT) : 0859-3868
ISSN (ONLINE) : 2586-9248
Thai-Journal Citation Index (TCI), กลุ่มที่ 3

© 2024 Environmental Journal, All rights reserved.

ติดต่อเรา

วารสารสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 15 อาคารสรรพศาสตร์วิจัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ej@chula.ac.th