กระบวนการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาเกษตรกรรมไร้หมอกควัน จังหวัดน่าน 

1 สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2 สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* Puntita.t@chula.ac.th

สถานการณ์หมอกควันในประเทศไทยส่วนมากจะพบบริเวณภาคเหนือของประเทศ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะ มีภูเขาล้อมรอบ เปรียบเสมือนกำแพงขวางกั้นการไหลเวียนของอากาศ ปัญหาหมอกควันมักจะเกิดในช่วงหน้าแล้ง (มกราคม-พฤษภาคม) ของทุกปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกในรอบการผลิตถัดไปทั้งในพื้นที่โล่งแจ้งและพื้นที่ป่า  รวมถึงการเกิดไฟป่าทั้งในพื้นที่ป่าไม้ภายในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน (ภาพที่ 1) ก็ยังส่งผลกระทบต่อสถานการณ์หมอกควันให้เพิ่มความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้จึงมุ่งเน้นการสร้างกระบวนการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบมีส่วนร่วม เพื่อลดสาเหตุการเกิดหมอกควันจากภาคการเกษตรในจังหวัดน่าน โดยมีพื้นที่นำร่อง 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่น่านเหนือ (ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ) พื้นที่น่านกลาง (ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง)  และพื้นที่น่านใต้(ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย)