มงคลชัย อัศวดิษฐเลิศ, เจริศา จำปา
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การจัดการซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ในปัจจุบันการจัดการซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะมีกระบวนการคัดแยกเอาโลหะที่มีค่าออกก่อน โดยโรงงานอุตสาหกรรมประเภท 105 และ 106 คือ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม ตามลำดับ (กรมโรงงานอุตสาหกรรม, 2554) 

ปัญหาสำหรับการจัดการซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ซึ่งในบทความนี้จะขอใช้คำย่อว่า NMP-PCB (Non-metallic part -printed circuit board) ซึ่ง NMP-PCB จะต้องนำไปสู่กระบวนการฝังกลบอย่างปลอดภัย เพราะในองค์ประกอบของ NMP-PCB ยังมีสารอันตรายอยู่ และหากนำไปฝังกลบก็จะนำไปสู่การเกิดมลพิษจากโลหะหนักและสารหน่วงไฟประเภทโบรมีน (Brominated Flame Retardants: BERs) ปนเปื้อนไปกับน้ำใต้ดิน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการบำบัด/กำจัด หรือรีไซเคิล ต้องดำเนินการอย่างถูกต้องและเหมาะสม ปัจจุบันเริ่มมีการคิดค้นเพื่อนำในส่วนที่ไม่ใช่โลหะนี้กลับมาใช้มากขึ้น ทั้งนี้องค์ประกอบของ NMP-PCB ได้แสดงในตารางที่ 1

 

การใช้ประโยชน์จากซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ส่วนอโลหะ)
ส่วนประกอบที่ไม่ใช่โลหะจากซากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 70 มาจากวัสดุที่ใช้ทำแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเทอร์โมเซตเรซิน (Thermoset Resin) และใยแก้ว (Fiber Glass) ซึ่งเทอร์โมเซตเรซินเป็นวัสดุที่ไม่สามารถนำไปหลอมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และการเผาไม่ใช่ทางเลือกในการบำบัดสารกลุ่มนี้ เนื่องจากสารกลุ่มนี้จะทำให้ประสิทธิภาพของการเผาไหม้เชื้อเพลิงลดลง และก่อให้เกิดสารที่เป็นพิษสูง คือ Polybrominated Dibenzodioxin และ Dibenzofurans และหากนำไปฝังกลบก็จะนำไปสู่การเกิดมลพิษจากโลหะหนักและสารหน่วงไฟประเภทโบรมีน (Brominated Flame Retardants: BERs) ปนเปื้อนไปกับน้ำใต้ดิน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการบำบัด/กำจัด หรือรีไซเคิล ต้องดำเนินการอย่างถูกต้องและเหมาะสม ปัจจุบันเริ่มมีการคิดค้นเพื่อนำในส่วนที่ไม่ใช่โลหะนี้กลับมาใช้มากขึ้น โดยนำกลับมาใช้เป็นสารเติมแต่งใน epoxy resin เช่น กาว, สี, อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน และอุปกรณ์ในการก่อสร้าง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่ากว่านำชิ้นส่วนของซากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช่โลหะนี้ไปฝังกลบ

 
1. การใช้เป็นสารเติมแต่งสำหรับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ 
Guo et al. (2008) ได้นำซากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาบดให้เป็นผงด้วยกระบวนการบดหยาบ แล้วนำไปบดละเอียด และ แยกส่วนที่เป็นโลหะออกจากส่วนที่ไม่ใช่โลหะด้วยเครื่องคัดแยกไฟฟ้าสถิต จากนั้นนำ ส่วนที่ไม่ใช่โลหะไปร่อนผ่านตะแกรงขนาด 0.15 มิลลิเมตร แล้วนำส่วนที่ผ่านตะแกรง มาผสมกับ ฟีนอลิกเรซิน ผงขี้เลื่อย ผงแป้งทัลก์ เฮกซะเมทิลอีเนเตตระเอมีน แคลเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมออกไซด์ ไนโกรซีน (Nigrosine) และกรดเสตียริก พบว่า สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นชิ้นส่วนได้ ดังแสดงในรูปที่ 3


1.2 การใช้ NMP-PCB ผสมกับเทอร์โมพลาสติกหรือพอลิเอสเตอร์เรซินชนิดไม่อิ่มตัว 
 

1.3 การใช้ NMP-PCB มาใช้เป็นวัสดุในคอนกรีต

2. กระบวนการรีไซเคิลด้วยวิธีทางเคมี
2.1 ดีพอลิเมอไรเซชันด้วยวิธีของไหลเหนือวิกฤต (Supercritical fluid) 

 

2.2 การใช้ตัวทำละลาย (Chemical extraction)

3. การเผาหรือการนำใช้เป็นพลังงาน
3.1 การไพโรไลซีสภายใต้สภาวะสุญญากาศ (Vacuum pyrolysis) 

3.2 กระบวนการทำให้กลายเป็นก๊าซ (Gasification) 
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในกรณีที่มีการนำไปรีไซเคิล

สำหรับกระบวนการเผาไหม้แบบไพโรไลซีสเพื่อให้ได้น้ำมันมาใช้เป็นพลังงานทดแทน ยังต้องมีการศึกษาในแง่ของคุณภาพของน้ำมันเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้จริง นอกจากนี้ ระหว่างทำการเผาไหม้นั้น จะเกิดสารอันตรายกลุ่ม Bromophenols เป็นหลัก และยังมีรายงานอีกว่าที่อุณหภูมิการเผาไหม้ที่แตกต่างกันจะเกิดสารอันตรายที่เป็นกลุ่ม Semivolatile ได้มากกว่าร้อยชนิด ดังรูปที่ 9 โดยสภาวะที่มีอุณหภูมิสูงและมีออกซิเจนจะทำให้เกิด ไฮโดรโบรไมด์ และ Brominated Light Hydrocarbon นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถเกิด Dibenzo-p-dioxins และ Furans ได้มากถึงระดับส่วนในล้านส่วน (ppm) อีกด้วย 

โดยส่วนใหญ่ NMP-PCB จะประกอบด้วย Thermosetting Resins หรือ Epoxy ไฟเบอร์กลาส พลาสติก จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการขึ้นรูปพลาสติกได้ แต่ก็มีข้อจำกัด เช่น ด้วยโครงสร้างของ Epoxy เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถหลอมใหม่ได้ เป็นต้น นอกจากนี้มีการศึกษาที่นำส่วน NMP มาผสมกับพอลีโพรพิลีนพบว่ามีคุณสมบัติเป็นฉนวนเนื่องจากมีโบรมีนซึ่งเป็นสารหน่วงไฟเป็นส่วนประกอบ แต่เมื่อนำมาศึกษาคุณสมบัติด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการทดสอบการชะของวัสดุพบว่า มีการปนเปื้อนทองแดงและตะกั่ว และยังพบว่ามีการปนเปื้อนโบรมีนอีกด้วย สำหรับเทคโนโลยีการรีไซเคิลซากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ อย่างการสกัดด้วยวิธี Supercritical Fluid Extraction และ วิธี Chemical Extraction อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ในรูปของของเสียที่เกิดจากกระบวนการ และการสิ้นเปลืองพลังงาน อย่างไรก็ตามไม่มีรายงานถึงผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมจากวิธีการดังกล่าว 

จะเห็นได้ว่าในภาพรวมแล้วจะเกิดของเสีย 2 กลุ่มแรก คือ กลุ่มสารอนินทรีย์ประเภทโลหะหนัก และกลุ่มสารอินทรีย์ที่มีธาตุฮาโลเจนเป็นองค์ประกอบ นอกเหนือจากกฎหมายด้านกากอุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่ม HA (hazardous waste- absolute entry) ยังมีข้อตกลงระหว่างประเทศ ได้แก่ อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants : POPs) ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการปฏิบัติการร่วมระดับโลกอย่างเร่งด่วน ในการปกป้องสุขภาพอนามัยของคนและสิ่งแวดล้อมจากสารพิษตกค้างยาวนาน อนุสัญญา POPs มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POPs) ปัจจุบันนี้ สารเคมี POPs ที่ถูกกำหนดขึ้นมี 12 ชนิดคือ อัลดริน (aldrin) คลอเดน (chlordane) ดิลดริน (dieldrin) ดีดีที (DDT) เอนดริน (endrin) เฮปตะคลอร์ (heptachlor) เอชซีบี (hexachlorobenzene) ไมเร็กซ์ (mirex) ท็อกซาฟีน (toxaphene) พีซีบี (Poly chlorinated Biphenyls: PCBs) ไดออกซิน (Polychlorinated dibenzo-p-dioxins: PCDDs) และฟิวแรน (Polychlorinated dibenzofurans: PCDFs) สารเหล่านี้เป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ซึ่งถูกย่อยสลายได้ยากโดยแสงหรือสารเคมี หรือโดยชีวภาพทำให้เกิดการตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานานและสามารถเคลื่อนย้ายไปได้ไกลมาก และมีความเป็นพิษสูง สารดังกล่าวบางชนิดสามารถเปลี่ยนแปลงระบบฮอร์โมน ทำลายระบบการสืบพันธุ์และระบบภูมิคุ้มกันได้ พันธกรณีสำคัญที่ภาคีต้องปฏิบัติได้แก่ การออกมาตรการทางกฎหมายและการบริหารในการห้ามผลิตและใช้สาร POPs 9 ชนิดแรก การควบคุมการนำเข้าและส่งออกสาร POPs การส่งเสริมการใช้สารทดแทน การกำหนดแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (Best Available Techniques: BAT) และแนวทางปฏิบัติทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (Best Environmental Practices: BEP) และประสานงานกับประเทศภาคี

สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ที่เป็นประเทศต้องเผชิญกับการจัดการสารมลพิษ PCBs ที่มีอยู่ในชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว ยังต้องเผชิญกับการจัดการสารมลพิษที่มีอยู่ในขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมากในการรวบรวมชิ้นส่วน ตลอดจนการให้ความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังคงมีความกังวลในเรื่องสารมลพิษตกค้างยาวนาน โดยเฉพาะสารกลุ่ม Dioxins และ Furans เป็นสารกลุ่มมีฮาโลเจนเป็นองค์ประกอบซึ่งเป็นสารมลพิษที่รุนแรงที่สุดในบรรดารายการสารมลพิษ POPs จึงทำให้การนำมาเป็นพลังงานหรือการย่อยสลายด้วยความร้อนมีข้อจำกัด

ที่มา

2. เปรมฤดี กาญจนะปิยะ. (2554). E-waste เทคโนโลยีการจัดการซากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์. ปทุมธานี:ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
4. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย. (2553). โครงการศึกษาหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ.
6. Guo, J., Li, J., Rao, Q., Xu, Z. (2008). Phenolic Molding Compound Filled with Nonmetals of Waste PCBs. Environmental Science & Technology, 42 (2), 624-628. 
8. Niu, X., Li, Y. (2007). Treatment of waste printed wire boards in electronic waste for safe disposal. Journal of Hazardous Materials, 145 (3), 410–416.
10. Yamawaki, T. (2003). The gasification recycling technology of plastics WEEE containing brominated flame retardants. Fire Material, 27, 315–319.
12. Hall, W.J., Williams, P.T. (2007). Separation and recovery of materials from scrap printed circuit boards. Resources, Conservation and Recycling, 51 (3), 691-709. ISSN 0921-3449.


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ วารสารสิ่งแวดล้อม

1

ขอบเขตของเนื้อหา

วารสารสิ่งแวดล้อม เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 6 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการและที่ปรึกษาวารสารสิ่งแวดล้อม

เปิดรับบทความ/ข้อเขียนที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อมทุกด้าน โดยจัดส่งต้นฉบับผ่านทางระบบ Submission พร้อมระบุชื่อและนามสกุล สถานที่ติดต่อ และเบอร์โทรศัพท์ ของผู้เขียน/ผู้รับผิดชอบบทความ

  • ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์
  • กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
  • ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
  • นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
  • บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
  • ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
  • วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
  • วัชราภรณ์ สุนสิน
  • ศีลาวุธ ดำรงศิริ
  • อาทิมา ดับโศก

วารสารสิ่งแวดล้อม

เป็นวารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม โดยจัดพิมพ์เผยแพร่ฉบับแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2539 และเริ่มเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ปีที่ 23 ปี 2562

ส่งบทความ

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

วารสารสิ่งแวดล้อม (Environmental Journal) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

วารสารสิ่งแวดล้อมเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

วารสารสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ https://ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

ISSN (PRINT) : 0859-3868
ISSN (ONLINE) : 2586-9248
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มิถุนายน และ ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สำหรับสำนักพิมพ์

วารสารสิ่งแวดล้อมเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังวารสารสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • วารสารสิ่งแวดล้อมปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

ISSN (PRINT) : 0859-3868
ISSN (ONLINE) : 2586-9248
Thai-Journal Citation Index (TCI), กลุ่มที่ 3

© 2024 Environmental Journal, All rights reserved.

ติดต่อเรา

วารสารสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 15 อาคารสรรพศาสตร์วิจัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ej@chula.ac.th